Taladnam Thailand

Taladnam Thailand

Friday, September 2, 2011

Talad huahinsamphannamfloatingmarket

ตลาดน้ำหัวหินสามพันนาม (แนะนำ...ใหม่)


ตลาดน้ำหัวหินสามพันนาม ตลาดน้ำหัวหินสามพันนาม ตลาดน้ำในบรรยากาศรัตนโกสินทร์ย้อนยุค สมัยรัชกาลที่ 6 ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านทับใต้  ต.ทับใต้  อ.หัวหินเพิ่งเปิดตัวให้นักท่องเที่ยวเข้าชม ไปเมื่อวันที่ 15 กค 54  ซึ่งใกล้จะ เสร็จเรียบร้อยสมบูรณ์แล้ว  ตลาดน้ำในอำเภอหัวหินมีอยู่ 2 แห่ง คือ ตลาดน้ำหัวหิน แต่ยังไม่เปิดคาดว่า จะเปิดสิ้นปี 54 ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กัน  และ ตลาดน้ำหัวหินสามพันนาม ซึ่งเปิดตัวไปแล้ว  สำหรับตลาดน้ำหัวหินสามพันนาม จะเป็นทีมงาน เดียวกับตลาดน้ำอโยธยา ดังนั้น “ตลาดน้ำหัวหินสามพันนาม” จะเป็นเหมือนกับ “ตลาดน้ำอโยธยา” แต่สถาปัตยกรรมของที่หัวหินนั้น จะเป็นแบบ “วิคตอเรีย” ในรูปแบบของรัชกาลที่ 6 ที่ผ่านมา ทั้งรูปร่าง ตัวอาคาร และอื่นๆ เหตุผลเนื่องจากเราต้องการรักษารูปแบบ ของท้องถิ่นเมืองหัวหินเอาไว้โชว์ให้ผู้คนที่เข้ามาสัมผัสได้เห็นความเก่า แก่ในอดีต พร้อมกับจะมีการจัดแสดงต่างๆ ที่คงความเป็น ไทยเอาไว้




ตลาดน้ำหัวหินสามพันนาม "บนเนื้อที่กว่า 100 ไร่" มีร้านค้าภายใรตลาดน้ำทั้งหมด 193 ร้าน และเรือขายสินค้า 40 ลำ โอบล้อมไปด้วยขุนเขา และติดแหล่งน้ำธรรมชาติ "ลำห้วยสามพันนาม" มีการแสดง โชว์แสง สีเสียงทุกวัน รองรับนักท่องเที่ยว 10,000 คน/วัน กรุ๊ปทัวร์กว่า 500 บริษัท เดินทางสะดวกสบาย พร้อมที่จอดรถกว่า 1,000 คัน

ภาย ในพื้นที่พื้นที่น้ำที่เป็นจุดขายทางธรรมชาติก็จะมีกลุ่มเรือพายมีสินค้าของ กินทุกชนิดประเภทใส่เรือพายไปมาในสระขนาดใหญ่ เพื่อให้ผู้คนได้สัมผัสหาซื้อสิ่งของได้กินเล่นกัน เปรียบเสมือนว่าได้เข้ามาจุดนี้แล้วได้ย้อนอดีตไปดูตามบ้านเรือ ที่อยู่ในห้วย หนอง คลอดง บึง แบบโบราณเก่าแก่ของประเทศไทย ส่วนพื้นที่ด้านบนรอบๆ ก็จะเปิดโอกาสให้ผู้คนในพื้นที่ท้องถิ่นเมืองหัวหิน มาจับจองเปิดจำหน่ายขายสินค้า เป็นห้อง ในรูปแบบของสินค้าต่างๆ ที่ทางเรากำหนดแบบหลากหลายไม่ให้ซ้ำกัน ซึ่งในส่วนนี้ผู้คนที่เข้ามาหรือเรียกว่าหุ้นส่วนทางด้านการค้า ธุรกิจ ก็จะเสียค่าใช้จ่าย3 แสนบาทต่อ 30 เดือน ซึ่งกำหนดการเปิดนั้น ตั้งแต่ 10.00 – 23.00 น. ทุกวันไม่มีวันหยุด



 เส้นทางที่ 1 (เข้าเมืองหัวหิน)
 วิ่งมาตามถนนธนบุรี-ปากท่อ(ทางหลวงหมายเลข 35)แล้วมาตัดเข้า ถ.เพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4)เลี้ยวซ้ายวิ่งเข้าเมืองหัวหิน ผ่านสนามบินบ่อฝ้าย(ลอดอุโมงค์) ผ่านสถานีรถไฟหัวหิน จะเจอทางเลี้ยวขวาไปประจวบ จะเป็นทางขึ้นสะพาน พอลงสะพานให้ชิดขวาเพื่อกลับรถ พอกลับรถเรียบร้อย ให้ชิดซ้ายจะเจอซอยหัวหิน 112 ขับไปอีกประมาณ 5 กิโลเมตร (จะมีป้ายบอกตลอดทาง) จะเจอทางเข้าตลาดอยู่ด้านซ้าย

เส้นทางที่ 2 (By Pass)
เดินทางมาจาก ถ.เพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) พอถึงแยกถนนเลี่ยงเมือง(By Pass) ให้เลี้ยวขวาวิ่งเลี่ยงเมืองหัวหินตามทางหลวงหมายเลข 4 ตรงผ่านวงเวียน ให้ไปตามทางไปประจวบ ขับตรงไปเรื่อยๆ จะเจอวัดห้วยมงคลอยู่ฝั่งขวามือ และตลาดน้ำหัวหินสามพันนาม จะอยู่ฝั่งซ้าย จะมีป้ายบอกตลอดทางจนถึง
               

Thursday, September 1, 2011

Taladnam donwaimarket


ตลาดน้ำดอนหวาย
 
 
ตลาดมีลักษณะตัวอาคารเป็นอาคารไม้เก่า ๆ ตั้งแต่อดีตสมัยรัชกาลที่ 6 ที่อยู่ติดริมแม่น้ำท่าจีน มีพ่อค้า แม่ค้า นำสินค้า และอาหารมาจำหน่ายในบริเวณวัดดอนหวาย มีตลาดนัดสินค้าทางการเกษตรที่วัดดอนหวายทุกวัน ตั้งแต่เวลา 07.00-18.00 น. และมีเรือบริการนำเที่ยวชมทิวทัศน์ของสองฝั่งแม่น้ำท่าจีน
ตลาดเริ่มบูมตั้งแต่ปี 42-43 สมัย IMP ข้าวของแพง คนไทยประหยัด จึงค้นหาสินค้าราคาประหยัด

เดิมทีเป็นเพียงตลาดภายในชุมชนที่ไม่ได้ใหญ่โตหรือมีชื่อเสียงโด่งดังอะไร ในยุคที่การสัญจรและการค้าขายทางน้ำยังคับคั่ง ชาวบ้านจะพายเรือแจวมาซื้อหาข้าวปลาอาหาร ที่ตลาดดอนหวายกันทุกวัน จนมาชั่วเวลาหนึ่ง สีสันการค้าขายของชุมชนแห่งนี้ก็จืดจางลงไป เนื่องจากมีการสร้างถนนวัดไร่ขิง ตัดผ่านหน้าชุมชนเมื่อประมาณ 30ปีที่แล้ว เป็นเหตุให้ชาวบ้านหันไปซื้อหาของจากนอกชุมชนแทน เพราะการเดินทางสะดวกขึ้น พ่อค้าแม่ขายในตลาดดอนหวาย จึงต้องโยกย้ายแหล่งทำมาหากินไปอยู่ที่อื่น ตลาดดอนหวายเกือบจะกลายเป็นตลาดร้าง มีร้านค้าอยู่ไม่ถึง 10 ร้านที่ยังคงยืนหยัดค้าขายอยู่
จนมาวันหนึ่ง ประมาณปีครึ่งที่ผ่านมา เมื่อทีมงาน "เที่ยวไป กินไป" จากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ นำทีมโดย พลเอก โอภาส โพธิแพทย์ ได้เดินทางไปรับประทานเป็ดพะโล้ที่ร้านนายหนับ และตีพิมพ์เรื่องราวเป็ดพะโล้รสอร่อยของร้านนายหนับ และบรรยากาศตลาดดอนหวายสู่สาธารณชน ตั้งแต่วันนั้นก็เสมือนว่า ตลาดดอนหวายได้เกิดใหม่เป็นครั้งที่ 2 เพราะเช้าวันรุ่งขึ้น ตลาดดอนหวายก็เต็มไปด้วยผู้คนนับร้อยที่ต้องการมาพิสูจน์ความเอร็ดอร่อยของ อาหารชนิดต่าง ๆ และชื่นชมบรรยากาศเก่า ๆ ที่นับวันจะหายากขึ้นทุกที พ่อค้าแม่ขายที่เคยย้ายไปค้าขายอยู่ที่อื่น เมื่อรู้ข่าวว่าตลาดดอนหวายกลับมาคึกคักอีกครั้ง ต่างก็พร้อมใจกันกลับมาค้าขาย ณ ตลาดเดิม พ่อค้าแม่ค้าจากที่ไกล ๆ เช่น อยุธยา ปทุมธานี ระยอง ฯลฯ ก็นำสินค้ามาจำหน่ายด้วย จำนวนร้านค้าจึงเพิ่มมากขึ้น สินค้าก็หลากหลายไปกว่าแต่ก่อน ประกอบกับรายการโทรทัศน์ และสื่อชนิดต่าง ๆ ทยอยกันทำข่าวเกี่ยวกับอาหารบ้าง เกี่ยวกับตลาดบ้างไม่เว้นแต่ละวัน อีกทั้งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ก็ช่วยประชาสัมพันธ์อีกแรงหนึ่ง ตลาดดอนหวายจึงมีชื่อเสียงโด่งดังอย่างรวดเร็ว
ทุกวันนี้นอกจากนักท่องเที่ยวในจังหวัดใกล้เคียงแล้ว นักท่องเที่ยวจากจังหวัดที่อยู่ไกลออกไป เช่น สุพรรณบุรี ระยอง ฯลฯ รวมไปถึงนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ก็จะหาโอกาสแวะมาซื้อหาของกินอร่อย ๆ ที่นี่ แต่ที่มากสุด ก็เห็นจะเป็นนักท่องเที่ยวจากกรุงเทพฯนั่นเอง เหตุผลหนึ่งอาจเป็นเพราะระยะทางไม่ไกลมากนัก และถนนหนทางก็สะดวก มีแผ่นป้ายบอกทางเข้าตลาดดอนหวายอย่างเด่นชัด นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มักมีวัตถุประสงค์ที่แน่นอน คือถ้าไม่มาซื้อเป็ดพะโล้ ก็ต้องมาซื้อขนมไทยซึ่งมีหลากหลาย หรือไม่ก็ห่อหมกปลาช่อน เพราะทั้งสามอย่างนี้เป็นอาหารขึ้นชื่อ ขนาดว่าถ้าใครมาตลาดดอนหวายแล้วไม่ได้ซื้ออย่างใดอย่างหนึ่งในสามอย่างนี้ กลับไป ก็แสดงว่ามาไม่ถึงตลาดดอนหวาย ในตลาดยังมีของอร่อย ๆ อีกมายมายให้นักท่องเที่ยวได้เลือกซื้อ ทั้งน้ำอ้อย น้ำตาลสด น้ำมะพร้าวอ่อนที่หอมหวานน่าดื่ม บรรจุในตุ่มดินเผาใบเล็ก ๆ ทำให้เมื่อดื่มแล้วรู้สึกเย็นชื่นใจยาวนาน ช่วยบรรเทาความเหนื่อยล้าหลังการเดินซื้อของได้ดีทีเดียว นอกจากนี้ก็ยังมีผักและผลไม้นานาชนิดจำหน่ายในราคาย่อมเยา โดยเฉพาะส้มโอ ผลไม้ขึ้นชื่อของนครชัยศรีที่เจ้าของสวนขนมาขายเอง จึงมั่นใจได้ในเรื่องคุณภาพ และสามารถต่อรองราคากันได้
 

ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนบรรยากาศการรับประทานอาหาร ที่นี่เขาก็มีบริการล่องเรือชมบรรยากาศสองฟากแม่น้ำท่าจีนไปพร้อม ๆ กับการรับประทานอาหาร เป็นระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงครึ่งโดยประมาณ หรือถ้าไม่ต้องการรับประทานอาหาร เพราะอิ่มอร่อยไปเรียบร้อยแล้ว จะนั่งเรือชมบรรยากาศอย่างเดียวก็ได้ สนนราคาค่าโดยสารแตกต่างกันไปตามความเหมาะสม และจะมีเรือออกเป็นรอบ ๆ ไป
สำหรับบรรยากาศทั่ว ๆ ไปของตลาดดอนหวายนั้น ในวันธรรมดาจะเงียบเหงา แต่พอถึงวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ผู้คนจะแน่นขนัดชนิดเดินหลีกกันไม่พ้นทีเดียว
แม้ตลาดแห่งนี้จะไม่ใช่ตลาดที่ก่อตั้งและพัฒนาตัวเองมาอย่างต่อเนื่องตลอด ระยะเวลา 100 กว่าปีที่ผ่านมา แต่การที่ตลาดแห่งนี้หวนกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง ก็เพราะความร่วมมือของคนในชุมชน ที่พยายามจะดำรงรักษาให้ตลาดแห่งนี้คงอยู่คู่ชุมชนต่อไป




 
เส้นทางที่หนึ่ง
จากสะพานปิ่นเกล้า มุ่งตรงไป ถนนปิ่นเกล้า - นครชัยศรี ผ่าน ถนนพุทธมณฑล สาย 1-2-3 เมื่อผ่านถนนพุทธมณฑลสาย 4
สังเกตป้ายบอกทางเลี้ยวซ้ายเข้าพุทธมณฑลสาย 5 ขับเข้ามายังถนนพุทธมณฑลสาย 5 ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร
ก็จะเจอสี่แยกเลี้ยวขวา มุ่งตรงสู่วัดดอนหวาย รวมระยะทางจาก สะพาน ปิ่นเกล้า - วัดดอนหวาย 27 กิโลเมตร ใช้เวลา
ประมาณ 15 - 30 นาที เส้นทางที่สอง
ใช้เส้นทาง ถนนเพชรเกษม จากสี่แยกท่าพระ ตรงมาเรื่อยๆ ผ่าน บางแค หนองแขม ผ่านทางแยกเข้าพุทธมณฑล สาย 4
ตรงมาเรื่อยๆ เมื่อถึงทางแยกถนนพุทธมณฑลสาย 5 เลี้ยวขวา ตรงมาระยะทาง 6 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายมุ่งตรงสู่วัดดอนหวาย
รวมระยะทาง 30 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 30 - 60 นาที
นั่งรถเมล์ - รถตู้ประจำทาง
รถตู้ปรับอากาศ เมอรี่คิงส์ปิ่นเกล้า - วัดดอนหวาย - วัดไร่ขิง ราคา 40 บาท ใช้เวลาประมาณ 20 -40 นาที
ถนนเพชรเกษม คุณสามารถใช้บริการ รถโดยสารปรับอากาศสาย ( ปอ.) 84 ( 12- 19 บาท) ลงตรงปากทางเข้าวัดไร่ขิง
  (ให้สังเกตุสวนสามพราน ก็ลงป้ายถัดไปได้เลย) และต่อรถสองแถวประจำทาง เข้ามาวัดดอนหวาย ( 7 -10 บาท)
  หรือไม่ทันใจ...ก็สามารถใช้บริการรถมอเตอร์ไซด์คิว ( 40 -50 บาท) ได้เลย.
สถานีขนส่งสายใต้ คุณสามารถใช้บริการรถโดยสารที่จะไปยัง จังหวัด นครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี
   ( ตอนขึ้นบอกกับพนักงานซักนิด "จะไปดอนหวาย ช่วยจอดปากทางเข้าหน่อยนะค่ะ/ ครับ"
  

Tuesday, August 30, 2011

Taladnam Bang-phli-floating-market

ตลาดน้ำ บางพลี


ตลาด น้ำบางพลี เริ่มจากชาวจีนเข้ามาเปิดร้านในตลาดนี้ราว พ.ศ.2400 ตลาดนี้จึงน่าจะมีอายุประมาณ 149 ปี เป็นตลาดโบราณริมคลองสำโรงเพียงแห่งเดียวที่รอดพ้นจากไฟไหม้และยังคงสภาพ เดิมเหมือนแรกเดิมชื่อ “ตลาดศิริโสภณ”เป็นตลาดเก่าแก่ตลาดหนึ่งพื้นตลาดทำจากไม้สามารถเดินติดต่อ กันได้ถึง 500 เมตรตลาดนี้ตั้งอยู่บนฝั่งเหนือของคลองสำโรงช่วงอำเภอบางพลีจังหวัด สมุทรปราการ 


ตลาดริมน้ำโบราณบางพลีเป็นชุมชนใหญ่ชุมชนหนึ่งและมีความรุ่งเรืองมากในอดีต เป็นตลาดขนส่งสินค้าและผู้โดยสารจากภาคตะวันออกชายฝั่งทะเลสู่กรุงเทพมหานคร การเดินทางในสมัยก่อน ใช้เรือเป็นพาหนะเดินทางโดยการแจว พายและแล่นใบ เดินทางมาค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าจะอยู่ในคลองสำโรง ตลาดน้ำบางพลีถือเป็นตลาดน้ำประวัติศาสตร์แห่งหนึ่ง มีวิถีชีวิตที่เรียบง่ายและมีวัฒนธรรมที่ดีงามสั่งสมอยู่มากมาย


ตลาดน้ำบางพลีสมุทรปราการ “ ชื่อนี้หลายอาจบอกว่าพึ่งได้ยินมาไม่นานนี้เอง
แต่เป็นตลาดน้ำโบราณ ครั้งก่อนนั้นเราอาจเห็นหรือได้ยินประเพณีโยนดอกบัวลงบนเรือหลวงพ่อโต ที่แห่ไปตามคลองสำโรง คลองเก่าแก่ของชุมชนบ้านบางพลี ใกล้วัดบางพลีใหญ่ในหรือวัดหลวงพ่อโต

ตามตำนานเล่าขานว่าหลวงพ่อโตสร้างในสมัยเดียวกันกับหลวงพ่อวัดบ้านแหลม
ตำบลดอนหอยหลอด จังหวัดสมุทรสาคร และหลวงพ่อโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา
ซึ่งตามประวัติของพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ 3 องค์นี้เป็นพระที่ลอยมาตามน้ำ
ผ่านมาทางปราจีนบุรี  แล้วไปผุดที่ตำบลสัมปทวน แขวงเมืองฉะเชิงเทรา ชาว
บ้านไปพบเข้าจึงเอาเชือกพรวนไปผูกมัดพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์นี้ แล้วช่วยกันฉุด
ลากขึ้น แต่ไม่สามารถจะนำขึ้นมาจากน้ำได้ พระพุทธรูปองค์ใหญ่จึงลอยตามกระ
แสน้ำเรื่อยไป และไปผุดขึ้นที่บ้านแหลมจังหวัดสมุทรสงคราม ชาวบ้านแหลมจึง
อัญเชิญประดิษฐานไว้ที่วัดบ้านแหลม ส่วนองค์เล็กไปผุดขึ้นที่คลองใกล้วัด
บางพลี
จังหวัดสมุทรปราการ
ชาวบ้านจึงอัญเชิญประดิษฐานไว้ที่วัดบางพลี
ส่วนหลวงพ่อโสธรซึ่งเป็นองค์กลางนั้นผุดขึ้นที่หน้าวัดโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา

วัดบางพลีใหญ่(ใน)จะมีประเพณีรับบัวเป็นประจำทุกปี โดยแห่หลวงพ่อโตไป
ตามตลองสำโรง ให้ประชาชนที่อยู่ริมฝั่งคลองโยนดอกบัวลงบนเรือหลวงพ่อ
เป็นการบูชาสักการะ หากโยนลงเรือหลวงพ่อโตได้ ก็จะถือว่าเป็นสิริมงคล



รถยนต์ 
สามารถใช้เส้นทางถนนสุขุมวิท (สายเก่า) และเส้นทางหลวงหมายเลข 303 ระยะทางประมาณ 29 กิโลเมตร ก็เข้าสู่ตัวเมืองจังหวัดสมุทรปรากการ หรือใช้ทางพิเศษบูรพาวิถี สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 1543 
  รถโดยสารประจำทางปรับอากาศ (ขสมก.)
ปอ.สาย 2 (สำโรง-ปากคลองตลาด), ปอ.506 (ปากเกร็ด-พระประแดง), ปอ.507 (ปากน้ำ-ขนส่งสายใต้), ปอ.508 (ปากน้ำ-ท่าราชวรดิษฐ์), ปอ.511 (ปากน้ำ-ขนส่งสายใต้), ปอ.513 (รังสิต-ปู่เจ้าสมิงพราย), ปอ.23 (สำโรง-ทางด่วน-เทเวศน์), ปอ.25 (ปากน้ำ-ท่าช้าง), ปอ.102 (ปาก-น้ำ-ช่องนนทรี), ปอ.545 (นนทบุรี-สำโรง), ปอ.129 (สำโรง-บางเขน), ปอ.142 (วัดเลา-สมุทรปราการ), ปอ.145 (สวนจตุจักร-ปากน้ำ), ปอ.536 (ฟาร์มจระเข้-อนุสาวรีย์ชัย), ปอ.521 (พระประแดง-ท่าน้ำนนท์), ปอ.20 (ป้อมพระจุลฯ-ท่าน้ำดินแดง) สอบถามเส้นทางรถ ขสมก. โทร. 184 หรือ www.bmta.co.th 



รถโดยสารประจำทางธรรมดา (ขสมก.)
สาย 2 (สำโรง-ปากคลองตลาด), สาย 6 (พระประแดง-บางลำภู), สาย 20 (ป้อม-พระจุลฯ-ท่าน้ำดินแดง), สาย 23 (สำโรง-ทางด่วน-เทเวศร์), สาย 25 (ปากน้ำ-ท่าช้าง), สาย 45 (สำโรง-ราชประสงค์), สาย 82 (พระประแดง-บางลำภู), สาย 102 (ปากน้ำ-ช่องนนทรี), สาย 116 (สำโรง-สาธร), สาย 129 ( บางเขน-สำโรง), สาย 138 (ทางด่วน จตุจักร-พระประแดง), สาย 145 (สวนจตุจักร-ปากน้ำ)
สอบถามเส้นทางรถ ขสมก. โทร. 184 หรือ www.bmta.co.th


Monday, August 29, 2011

Bangnamphung-float-market

ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง 


ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง ตลาดน้ำแห่งนี้เปิดขึ้นเมื่อต้นปี พ.ศ. 2547 ด้วยความร่วมมือขององค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำผึ้ง โดยต้องการพัฒนาให้ตลาดแห่งนี้เป็น สถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งของ จ. สมุทรปราการตลาดน้ำแห่งใหม่ใกล้กรุง ที่อำเภอ พระประแดง สมุทรปราการ มีเฉพาะเสาร์-อาทิตย์ เริ่มเวลา 7 โมงเช้า เป็นต้นไปจนถึงเย็น แม้เพิ่ง เปิดตัวมาได้ไม่นาน แต่มีคนมาเที่ยวกัน มากโดยเฉพาะวันอาทิตย์จะมีคนมาเที่ยวประมาณ 4,000 คน มีนักท่องเที่ยวฝรั่งมาเที่ยวด้วย
เสน่ห์ตลาดน้ำที่นี่ คือวิถีชีวิตชาวบ้านริมคลอง ส่วนใหญ่เป็นชาวไทย เชื้อสายมอญ น้ำในคลองยังสะอาด มีของพื้นบ้านอร่อย ๆ ที่ชาวบ้านทำมาขายเอง มีเรือพายขาย ก๋วยเตี๋ยวหมูต้มยำ ขนมจีนน้ำยา หอยทอดในถาดขนมครก ขนมใส่ไส้ มีกลุ่มแม่บ้าน สตรีทำขนมทองหยอด เม็ดขนุน ฝอยทอง การทำกาละแมกวนมาขาย แต่สุดยอดของ อร่อยที่นี่ คือ ห่อหมกหมู ที่ต้องมาแต่เช้าจึงจะได้ทาน เพราะมาบ่ายจะขายหมด นอกจากนี้ก็มีผลไม้จากสวนที่มีอยู่ทั่วไปสองฝั่งคลอง ผลไม้ขึ้นชื่อที่สุดของบางน้ำผึ้ง คือมะม่วงน้ำดอกไม้ และยังมีไม้ดอกไม้ประดับ สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เช่น ดอกไม้ประดิษฐ์ ไข่เค็มดินสอพอง บริเวณตลาดน้ำมีเรือพายให้บริการ ถ้าพายเป็นจะพายเองก็ได้ ค่าเช่าชั่วโมงละ 20 บาท หากต้องการคนพายให้ เพิ่มอีก 20 บาท นั่งเรือลัดเลาะชมพื้นที่สีเขียว 2 ฝั่งคลอง มีทั้งป่าจาก สวนมะม่วง และมะพร้าว ในอนาคตจะมีบริการจักรยานให้เช่าด้วย



  ตลาดน้ำบางน้ำผึ้งจะจัดเป็นซุ้มให้มีทางเดินยาวกว่า 2 กิโลเมตร ขนานไปกับคลองซอยสายเล็ก ๆ ที่แตกแขนง จากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามาในพื้นที่ที่ทำการเกษตรของชาวบ้าน จัดจำหน่ายต้นไม้นานาพันธุ์ ปลาสวยงามหลากชนิด ก่อนมาที่ตลาดน้ำแห่งนี้ทำท้องให้ว่างไว้ดีที่สุด เพราะว่าอาหารการกินที่นี่หลากหลายมาก เช่น ก๋วยจั๊บ กระเพาะปลา รังนก ก๋วยเตี๋ยว และยังมีอาหารที่เราไม่ค่อยจะพบกันบ่อยนักแต่ว่าอย่าพึ่งทานให้อิ่มทีเดียว เพราะว่ายังมีอาหารที่ไม่ได้
ขายในท้องตลาดทั่วไปอีกมาก ไม่ว่าจะเป็น ขนมครกหอยทอด ทอดมันปลา หมึกไข่เสียบไม้ห่อด้วยใบตอง แจงรอน ห่อหมกู ลูกชิ้นโบราณมีทั้งไส้กุ้ง หมู เผือก แครอท หน้าตาไม่ค่อยคุ้นเท่าซักเท่าไหร่นัก หวานพื้นเมืองฝีมือ ชาวบ้าน เช่น ขนมถ้วย ขนมจาก กล้วยแขก ม้าฮ่อ ขนมตระกูลทอง กาละแมกวน ฝอยเงินที่ใช้ไข่ขาวต้มในน้ำเชื่อมรสหวาน ชุ่มคอ หมี่กรอบโบราณ ฯลฯ




1.รถยนต์ส่วนตัว
ลงทางด่วนพระราม 9 ไปตาม ถนนสุขสวัสดิ์ แล้วเลี้ยวซ้ายไปพระประแดง ขับมาเรื่อยๆ จนเจอร้าน แว่นท็อปเจริญ ให้เลี้ยวซ้ายเข้าไป แล้วขับตรงไปเรื่อยๆ ผ่านใต้สะพานวงแหวนอุตสาหกรรม ให้เลี้ยวขวาทางไป "บางกอบัว" ข้ามสะพาน จากนั้นก็ตรงไปอีกประมาณ 4 กม. ก็จะถึงทางเข้า "วัดบางน้ำผึ้งใน" ให้เลี้ยวขวาเข้าไปอีกประมาณ 600 เมตร ก็จะถึงตลาดน้ำ
2.รถประจำทาง
สามารถโดยสารรถประจำทางที่วิ่งมายังตลาดพระประแดง จากนั้นเดินไปที่ว่าการอำเภอพระประแดงต่อรถกระป๊อ
ไปยังตลาดน้ำบางน้ำผึ้งค่าโดยสาร คนละ10 บาท
-ปอ.138 วิ่งจากจตุจักรขึ้นทางด่วนมาลงตลาดพระประแดงได้เลย หรือบางครั้งรถจะไม่ถึงตลาดพระประแดงให้ลง
ป้ายวัดสน ลงจากทางด่วนมาป้านแรกแล้วต่อสาย82ไปลงตลาดพระประแดง
-สาย 82 วิ่งจากสนามหลวงก็มาถึง พระประแดงเช่นกัน
-ปอ.140 จากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เมื่อรถลงจากทางด่วนสุขสวัสดิ์ ให้ลงป้ายแรก แล้วต่อรถสาย 82 เข้าตลาดพระประแดง
-สาย 506 จากปากเกร็ดมีไปยังตลาดพระประแดง 

Thursday, August 25, 2011

Taladnam Ayothaya float Market

ตลาดน้ำอโยธยา


ตลาดน้ำอโยธยา แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ เป็น บนเนื้อที่ 60 ไร่ ตั้งอยู่ที่เดียวกับปางช้างอโยธยาข้าง วัดมเหยงคณ์ จะเรียกได้ว่าเป็นตลาดน้ำที่ยิงใหญ่ที่สุดในเมืองอยุธยา เป็นตลาดย้อนยุคแบบโบราณ แวดล้อมไป ด้วยธรรมชาติ แบบไทยพื้นบ้านและสายน้ำ จัดแบ่งเป็นโซนๆ ตลาดน้ำอโยธยามีร้านค้ามากถึง 249 ร้าน ประกอบ ด้วยเรือสินค้า ขายอาหาร 50 ลำ ตลาดนัดชุมชนวิถีไทกว่าอีก 40 ร้าน และร้านค้าต่างๆ อีก 159 ร้าน มีสะพานเดิน ริมแม่น้ำเพื่อ เลือกซื้อสินค้าจากกลุ่มชาวบ้านต่างอำเภอ หรือสินค้า OTOP มากมายหลากหลายชนิด
ตลาดน้ำอโยธยาได้นำมารวบรวมไว้ที่นี่ คือการนำชื่ออำเภอทั้งหมดของ จังหวัดพระนคร ศรีอยุธยาทั้งหมด มาตั้งเป็นชื่ออาคาร สถานที่ เพื่อให้ผู้ที่มาเยือนได้รู้จักสินค้าของแต่ละอำเภอ และสามารถ จดจำชื่ออำเภอต่างๆของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้เป็นอย่างดี เช่น  ตลาดบางซ้าย เครื่องจักรสาน ตลาดบางบาล ขนมของฝาก ตลาดบางปะหัน โรตี, ขนม, ของฝาก ตลาดเสนา กุ้งสด, ปลาเผา  ลานการแสดง กรุงศรีอยุธยาเป็นต้น





ให้นักท่องเที่ยวได้นั่งเรือชมตลาดน้ำได้อย่างทั่วถึงและได้บรรยากาศไปอีก แบบ โดยจะตั้งอยู่ในโซนทางเข้า หน้าตลาด ค่าบริการคนละ 20 บาท
ตลาดน้ำอโยธยา มีมุมสวย น่ารัก ให้เลือกมากมาย เริมตั้งแต่เข้ามาถึงบริเวณทางเข้าด้านหน้ากับป้ายชื่อ ตลาดน้ำอโยธยา ที่จำลองกำแพงเมืองเก่ามาตั้งไว้ที่นี่ รวมถึงรูปปั้นเด็กไทยโบราณตัวใหญ่และสะพานไม้ข้าม ร่องน้ำ ที่มีอยู่ตามมุมต่างก็น่าดึงดูดไม่น้อย นอกจากนี้ยังมีร้านค้าฮิปๆ เก๋ ให้เราได้ถ่ายรูปอีกหลายร้านอีกด้วย
การเดินชมตลาดเพื่อชิมอาหารรสชาดอร่อยๆเรียบคลองยาว หรือจะซื้อหาของกินของฝากบนร้านค้าที่ตั้งเรียงราย อยู่ในเรือนไทยอันงดงามรอบตลาดน้ำอโยธยาของเรา ก็เพลิดเพลินไม่แพ้กันที่นี่เขาคัดสรรของอร่อยทั่วเมือง ไทยมารวมไว้ โดยแบ่งเป็นโซนรับประทานอาหารไว้เป็นสัดส่วน ทั้งโซนที่เป็นร้านค้า และมุมของกินริมน้ำ ที่มี พ่อค้าแม่ค้าพายเรือมาขาย มีให้เลือกมากมายเช่นกันพร้อมโต๊ะที่นั่งให้เราได้นั่งกินอย่างสะดวกสบาย หลายจุด
มีให้เลือกมากมายหลากหลายร้านค้า ตั้งแต่สิ้นค้าอินแทรนด์ เก๋ไก๋  เสื้อผ้า เครื่องประดับ กระเป๋า รองเท้า และสินค้าประเภท OTOP  เครื่องจักสาน มีดอรัญญิก หรืองานหัตถกรรมประเภทเฟอร์นิเจอร์ ของเก่า งานศิลป์ สปา และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ฯลฯ ร้านขายของเก่า เครื่องเงิน เครื่องประดับ งานเขียน ยาสมุนไพร สินค้า ที่ระลึก เครื่องจักสาน สินค้า hand made ผ้าบาติก งานไม้จากกะลา งานแจกัน สปา งานไม้ตกแต่งบ้าน ฯลฯ ที่นี่ก็มีให้เลือกซื้อเลือกหากันไม่หวาดไม่ไหว


1. โดยรถยนต์ส่วนตัว
มาตามเส้นทางถนนสายเอเชีย เลี้ยวช้ายเข้าเมืองอุยธยาแล้วมุ่งหน้าไปตามถนนโรจนะโดยขับตรงไปถึง เจดีย์วัด สามปลื้ม ก่อนขึ้นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา จากนั้นวนรอบวงเวียนเจดีย์ และเลี้ยวขวาไปทาง วัดมเหยงคณ์ จะพบตลาดน้ำอโยธยา โดยจะมีจุดจอดรถภายในตลาดน้ำเลย เสียค่าบริการ 20 บาท ซึ่งหากจะเข้า ไปจอดด้าน ใน ต้องฝ่ารถติดพอสมควร แนะนำว่าหาไม่มีผู้สูงอายุมาด้วย จอดรถไว้ด้านนอก ซึ่งก็มีให้จอดหลาย จุดเช่นกัน ทั้งของเอกชนที่เสียเงิน  และบริเวณวัดที่อยู่ตรงข้ามกัน  แล้วค่อยเดินเข้ามาในตลาด ซึ่งเดิน ไม่ไกลมาก เพียง 500 เมตร เท่านั้น
2. โดยรถสาธารณะ
จากสถานีหมอชิตใหม่ มีบริการรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยาทุกวัน วันละ หลายเที่ยว ทั้งรถโดยสารปรับอากาศชั้น 1 กรุงเทพฯ-พระนครศรีอยุธยา และรถโดยสารปรับอากาศชั้น 2 กรุงเทพฯ-ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร-พระนครศรีอยุธยา จากนั้นต่อรถมอเตอร์ไซต์หรือรถตุ๊ก ตุ๊ก ลงตลาดน้ำอโยธยา

Tuesday, August 23, 2011

Taladnam Floating 4 Market

ตลาดน้ำสี่ภาค พัทยา





เป็นตลาดเปิดใหม่ ย้อนยุค ณ ที่ตลาดน้ำ 4 ภาค (พัทยา) ยังมีนักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างชาติจะได้เพลิดเพลินไปกับทัศนียภาพอันงดงาม แล้วยังได้นั่งเรือพายชมทัศนียภาพ 2 ฝั่งของแม่น้ำ รวมไปถึงสัมผัสวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในการค้าขาย ทางน้ำ ในที่ตลาดน้ำ 4 ภาค ท่านยังได้พบกับร้านค้าเรือนไทยด้วยไม้สักทั้งหลังที่สวยงาม โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตลาดน้ำ 4 ภาค(พัทยา) จุดเด่นของเรือนไม้สักของแต่ละโซนภาคในประเทศไทยจะสังเกตุง่าย ๆ คือ หน้าจั่วที่มี ลักษณะแตกต่างกันเช่น เรือนภาคเหนือ มีเอกลักษณะพิเศษคือ กาแลไม้แกะสลัก อย่างงดงาม มีจำนวน 43 หลัง ซุ้มลีลาวดี และซุ้มกล้วยไม้จะเป็นจุดสำหรับพักผ่อน แล้วยังรวมไปถึงลานล้อที่เป็นลาน "กิจกรรมการแสดงของภาคเหนือ" เรือนภาคกลางจะตกแต่งบนยอดจั่วที่เรียกว่า "ปั้นลม" มีจำนวนรวม 31 หลัง มีลานของการแสดงอยู่ 2 ลานจะได้แก่ ลานเถิดเทิง และลานบางระจัน, ต่อมาคือเรือนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือ (ภาคอีสาน) ยอดของจั่วจะเป็นรูปรัศมีสีของพระอาทิตย์เรืองรอง เรียกว่า "ยอดธง" ประกอบด้วยเรือน 22 หลัง แล้วยังมีลานของหมอลำเป็นการแสดง, เรือนสุดท้ายคือ เรือนของภาคใต้ มียอดจั่วที่เรียกว่า ปีกผีเสื้อ ประกอบด้วยเรือนจำนวน 15 หลัง มีซุ้มเฟื่องฟ้า ลานเบตง และลานโนราห์ เป็นลานกิจกรรมการแสดง
ความตั้งใจจริงเพื่อให้ตลาด น้ำ 4 ภาค(พัทยา) แห่งนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางศิลปะและวัฒนธรรมของไทยเรียน รู้วิถีชีวิตพอเพียงที่สัมผัสได้ รวมถึงเป็นจุดศูนย์รวมของวัฒนธรรมความเป็นอยู่ให้ครอบคลุมในทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นชีวิตความเป็นอยู่ การค้า การแสดง การกิน รวมทั้งงานทางด้านหัตถกรรมต่าง ๆ ที่สามารถบอกเล่าเรื่องราว ความเป็นมา ความเจริญรุ่งเรือง และภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่สมควรได้รับการดูและ และคุณค่าแก่การอนุรักษ์ให้คงอยู่นานเท่านาน โครงการตลาดน้ำ 4 ภาค(พัทยา) เป็นสถานที่ท่องเที่ยวบึงน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกแห่งเดียวที่จะคง ไว้ซึ่งวิถึชีวิตคนไทยที่ยึดแนวแล้วเดินตามรอยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับเมืองพัทยา รวมไปถึงสร้างทัศนคติความประทับใจกับผู้มาเยือน
แต่สำหรับสินค้าทั้ง 4 ภาค ที่มีให้ท่านซื้อเป็นของฝาก หรือว่าจะซื้อนำกลับบ้าน ก็จะแตกต่างกันออกไปตามวิถีชีวิตของแต่ละภาค โดยทางภาคอีสาน โดดเด่นในกลุ่มสินค้าผ้าไหมหมัดหมี่ ผ้าไม่แพรวา เทียนหอม หมอนอิง, ภาคเหนือ จะเป็นสินค้างานไม้แกะสลัก เครื่องเงิน ผ้าพื้นเมิงลวดลายงดงามวิจิตร ผ้าไหม และร่มกระดาษ, ภาคใต้สินค้าเลื่องชื่อได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวผ้าบาติก เรือไม้จำลอง, และภาคสุดท้ายสำหรับภาคกลาง ได้แก่ เฟอร์นิเจอร์หวาย กระเป๋าสาน เครื่องประดับ
ตลาดน้ำ 4 ภาค พัทยาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางศิลปะและวัฒนธรรมของไทย แห่งใหม่ที่อยู่ท่ามกลางใจเมืองพัทยา สถานที่แห่งนี้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรม ที่ได้จำลองวิธีชีวิตความเป็นอยู่ของชนชาวไทยที่เรียบง่าย เรียนรู้วิถีพอเดียงดั้งเดิมที่ผู้พันกับสายน้ำตั้งแต่อดีตกาลสืบทอดต่อ เนื่องมาจนถึงปัจจุบัน รวมไปถึงการเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน ของทั้ง 4 ภาคในประเทศไทย ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉัยงเหนือ(ภาคอีสาน) และ ภาคกลาง



จากที่ผมไปหาอ่านมาเค้าบอกว่าพื้นที่ตลาดน้ำสี่ภาคนั้นเดิมทีเป็นบึงน้ำ ธรรมชาติครับ เป็นป่ากก แล้วพอรื้อป่ากกออกถึงได้รู้ว่าพื้นที่เป็นบึงเลยมีไอเดียว่าจะทำเป็นตลาด น้ำ ทำให้เป็นคล้ายๆสวนสาธารณะให้มีคนมาเดิน สัมผัสความเป็นไทย ดูวัฒนธรรม ไม่อยากให้นักท่องเที่ยวคิดว่าพัทยามีแต่สิ่งยั่วยุ ที่เที่ยวกลางคืนเท่านั้น ตอนแรกผมเข้าใจว่าบึงนี้ขุดขึ้นมาเสียอีก
ถ้าเดินจนเมื่อยอยากจะลงเรือดูรอบๆตลาดน้ำ ก็มีบริการพายเรือพาเที่ยวรอบตลาด ส่วนมากจะเป็นชาวต่างชาติครับที่ลงเรือสงสัยคนไทยคงไม่ค่อยตื่นเต้นเท่าไหร่



 - หากมาโดยรถยนต์ส่วนตัวจากกรุงเทพฯ ขับผ่านทางเลี้ยวเข้าพัทยาเหนือ - กลาง -;ต้ เลยทางเลี้ยวเข้าพัทยาใต้
ไปสักหน่อยทางเดียวกับไปอลังการถึงก่อนอลังการ ประมาณ 4.5 กม. จะเห็นเรือนไทยโดดเด่นไม่ต้องกลัวหลง
เพราะจะมีป้ายบอกตอดทาง
-เส้นทางมอเตอร์เวย์ กรุงเทพฯ ชลบุรี (สายใหม่) ต่อเชื่อมกับถนนวงแหวนรอบนอก มีทางขึ้นหลายจุด เช่น ถนนรามอินทรา ก่อนถึงแฟชั่นไอร์แลนด์ สุด ถนนพระราม 9 ตัดกับ ถนนศรีนครินทร์ หรือจากสายบางนา ตราด เมื่อผ่านแยก ถ.ศรีนครินทร์ มาแล้วพอสมควร จะมีทางแยกเข้าถนนวงแหวนรอบนอก แล้วมาเข้ามอเตอร์เวย์ได้เช่นกัน เมื่อเข้ามอเตอร์เวย์ต้องเสียค่าผ่านทางที่ด่านชั่วคราวลาดกระบัง 30 บาท และด่านชั่วคราวพานทองอีก 30 บาท (สำหรับรถยนต์สี่ล้อ) ระยะทางทั้งหมดประมาณ 68 กิโลเมตร เมื่อออกจากมอเตอร์เวย์แล้วให้ใช้ ทางหลวงหมายเลข 7 จนไปพบกับทางหลวงหมายเลข 36 ที่แยกบ้านกระทิงลายก่อนถึงพัทยา
-เส้นทางสายบางนา ตราด ( ทางหลวงหมายเลข 34) จากบางนาเข้าสู่ย่านบางพลี ผ่านแม่น้ำบางประกง จนเข้าสู่ตัวจังหวัดชลบุรีระยะทางประมาณ 81 กิโลเมตร ถ้าจะไม่เข้าตัวเมือง ก็มีเส้นทางบายพาสเลี่ยงเมืองแล้วมาพบกับทางหลวงหมายเลข 3 หรือถนนสุขุมวิทไปตามเส้นทางนี้ จะผ่านบางแสน บางพระ ศรีราชา แหลมฉบัง และก็จะเข้าสู่เขตเมืองพัทยา

- รถโดยสารประจำทางถ้านั่งรถป.1 ที่เอกมัย ซื้อตั๋วรถกรุงเทพ-สัตหีบเลยค่ะเพราะเป็นทางผ่าน จะได้ไม่ต้องต่อรถ บอกคนขับไว้ได้ค่ะว่ารถตลาดน้ำ 4 ภาคตลาดน้ำจะอยู่ทางด้านซ้ายมือ ติดถนนใหญ่เลย หรือจะนั่งรถมาลงแยกพัทยากลาง หรือใต้ก็ได้ แล้วนั่งรถสองแถวต่อไปบอกว่าลงตลาดน้ำ 4 ภาค

Sunday, August 21, 2011

Taladnam Dumanrnfloatingmarket

ตลาดน้ำดำเนินสะดวก




ตลาดน้ำดำเนินสะดวกที่ผู้คนไปเที่ยวกันนี้ เดิมเป็นแค่ท่ารถ ที่ชาวสวนส่งสินค้าเกษตรขึ้นรถบรรทุกไปขายใน กทม.หรือรับสินค้าเกษตรจากที่อื่นมาขายชาวบ้านริมคลอง ผมเคยขับเรือไปส่งผัก,ผลไม้เป็นประจำ ต่อมามีถนนมากขึ้น ถนนเข้าถึงสวน ประกอบกับตลาดน้ำในปัจจุบันสามารถลงรถแล้วชมได้เลย ผมยังงงอยู่ทุกวันนี้ว่า คลอง(ต้นเข็ม) เล็กๆนี่มันเป็นตลาดน้ำไปได้อย่างไร

เมื่อ 50 กว่าปีมาแล้ว ตลาดน้ำดำเนินอยู่ที่หน้าวัดสุน คลองลัดพลี (ปัจจุบันตลาดน้ำหน้าวัดสุนกำลังถูกรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ พร้อมรับนักท่องเที่ยวแล้ว สงบเงียบ น่าพักผ่อน)
สักประมาณ 30 ปี มานี้ตลาดน้ำดำเนินฯอยู่ที่คลองลัดพลี หนาแน่นช่วงปากคลองต่อกับคลองดำเนิน ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับตลาดน้ำปัจจุบัน(ฝั่งตรงข้ามของคลองดำเนินสะดวก) มีเรือพายแท้ๆจากชาวสวนแน่นขนัดยาวเป็นกิโลเมตร เดินข้ามคลองได้โดยเหยียบไปบนเรือเหล่านั้น
ประมาณปี 2514-2516 ตลาดน้ำคลองลัดพลีเจริญมาก มีการซื้อขายกันสนุกสนาน นักท่องเที่ยวมีแต่ฝรั่งทั้งนั้น จนมีนายทุนหัวใสขุดคลองเทียมขึ้นมาระหว่างคลองลัดพลีและคลองดำเนินสะดวก หวังว่าจะเป็นแหล่งท่องเที่ยว แต่ไม่ประสบความสำเร็จ

ตั้งแต่ตลาดน้ำแท้จริงที่ปากคลองลัดพลีหายไป (20 กว่าปีมาแล้ว) ผมก็ไม่ได้ภูมิใจอะไรกับตลาดน้ำในปัจจุบันนี้เลย ซึ่งตลาดน้ำในปัจจุบัน เป็นเรื่องของการสตาฟสิ่งที่กำลังหายไปให้คงอยู่เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ตลาดน้ำดำเนินฯ เป็นตลาดน้ำที่มีรากเง้ามาเป็นร้อยปี ยังมีมนต์ขลัง เป็นตลาดน้ำที่มีของจริงอยู่มาก ยังมีเรือจากแม่ค้าที่นำผลไม้จากสวนมาขายจริงๆ หรือบางครั้งอาจรับผลไม้มาจากรถบรรทุกที่นำมาจากถิ่นอื่น เป็นอารยธรรมสุดท้ายที่ควรไปชม นี่พูดอย่างไม่เข้าข้างตัวเอง ยังดีกว่าตลาดเกิดใหม่ที่มาจากการจ้างเรือพายเป็นรายวัน จนติดตลาดกลายเป็นที่ท่องเที่ยวโด่งดังในขณะนี้
ผมยังเชียร์ตลาดน้ำดำเนินสะดวกครับ รับรองคนที่นี่ไม่มีพิษมีภัย จิตใจดี
อาจจะจริงที่ว่าดำเนินสะดวกอาจไม่สะดวกสมชื่อ หากเราเปรียบเทียบกับยุคปัจจุบันที่เดินทางโดยรถยนต์ หากยุดดั่งเดิมแล้ว หรือคนในรุ่นพ่อแม่ เขาก็สะดวกด้วยการใช้เรือพาย เมื่อถนนยังไม่มากมายเท่านี้ ดำเนินสะดวกมีคลองซอยนับไม่ถ้วน อย่างกับตาข่าย พายเรือถึงกันหมด คนที่นี้เป็นคนจีน หรือลูกครึ่งไทยจีนซะส่วนมาก อาจเป็นเพราะการขุดคลองดำเนิสะดวกเชื่องแม่น้ำแม่กลองกับท่าจีนยาว 32 กม. ใช้กรรมกรจีนจำนวนมาก ซึ่งพวกเขาอาจตั้งรกรากที่นี่เลย คนที่นี่มักรับคนต่างถิ่นง่ายๆ ถึงขนาดยอมรับเป็นผู้นำก็มีบ่อยๆ

หลายท่านหรือผมเองก็สงสัยว่าสภาพบ้านริมคลองทั้งดำเนินสะดวกและคลองลัด พลีเหมาะจะเป็นที่พัก หรือเดินชม มากกว่าที่จะไปอุดอู้ที่ตลาดน้ำในปัจจุบัน ผมว่าบ้านริมคลองดำเนิน และคลองลัดพลีน่าเที่ยวกว่าหลายแห่งที่ประชาสัมพันธ์เกินจริง อาจเป็นเพราะว่าคนดำเนินอาจไม่คุ้นกับคนแปลกหน้าที่จะบุกถึงก้นครัว! แต่หากไม่ประชิดตัวนักก็ยังพอไหว
ผมอยากแนะนำคนที่ไปเที่ยวตลาดน้ำ ให้เดินข้ามคลองดำเนินสะดวกมาอีกฝั่ง แล้วเดินเลีบยคลองลัดพลี ทางเดินสะอาด ผู้คนเป็นมิตร สงบเงียบ ไม่เอิกเกริก (เพราะไม่มีการประชาสัมพันธ์) ท่านจะพบร่องรอยตลาดน้ำที่แท้จริง ถึงจะร้างเรือพายแล้วก็ตาม แต่คลองลัดพลีก็ยังทิ้งรองรอยตลาดน้ำที่ยิ่งใหญ่ในอดีด สภาพบ้านเรือนแทบไม่ต่างจาก 20-30 ปีที่แล้ว


เที่ยวตลาดน้ำดำเนินสะดวก พาท่านๆทั้งหลายไปชิมผลไม้ชาวสวน นั่งเรือชมบรรยากาศคลองขุด แบบฉบับดำเนินสะดวกที่โด่งดังไปแล้วทั่วโลก ฝรั่งมังค่าเดินทางมาจากทั่วทุกมุมโลก หรือมาแบบทัวร์ก็มี มาเที่ยวดูวิถีชีวิตริมคลองดำเนินสะดวก
หากจะให้ได้สัมผัสบรรยากาศของแท้แบบตลาดน้ำดำเนินสะดวกจริงๆ ต้องจอดรถไว้ปากซอยทางเข้า ไม่ต้องขับรถให้ถึงตลาดน้ำเลยก็ได้ เพราะที่ชุมชนดำเนินสะดวกนี้เค้าจะมีธุรกิจการนั่งเรือเที่ยวคลองดำเนินสะดวก หากเรานั่งตั้งแต่ต้นซอยเข้าไปก็จะได้เห็นวิถีชีวิตชาวบ้านริมคลองดำเนินกันเลย เพราะจากที่ทีมงานหมูหินไปเก็บข้อมูลมานี้ การนั่งเรือจากปากซอยมาจะได้เห็นการกินอยู่ บ้านเรือนของชาวบ้านดำเนินสะดวกกัน กินอยู่กับน้ำ นั่งเรือไปก็ได้เห็นแม่บ้านแม่เรือนทั้งหลายลงมาล้างจานชามกันริมน้ำเลย บ้างก็ลงมาอาบน้ำ บ้างก็ลงมาตักน้ำขึ้นบ้าน บ้างก็ตักน้ำไปรดน้ำต้นไม้ บ้างทีเจ้าหมาน้อยก็ลงมาเล่นน้ำบ้าง ว่ายไปมาสนุกสนานกันไป




1. โดยรถยนต์ส่วนตัว
- เดินทางไปตามถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) ผ่านบางแค สวนสามพราน นครชัยศรี นครปฐม เลย กิโลเมตรที่ 83 ไปเล็กน้อย จะพบแยกบางแพ เลี้ยวซ้ายมือไปตามทางหลวงหมายเลข 325 อีกประมาณ 25 กิโลเมตร ข้ามสะพานธนะรัชต์เลยไป 200 เมตร แล้วแยกขวาเข้าไปอีก 1 กิโลเมตร - เดินทางไปตามสายธนบุรี-ปากท่อ (ทางหลวงหมายเลข 35) ระยะทาง 63 กิโลเมตรเลี้ยวขวาเข้าทางหลวง หมายเลข 325 ผ่านตัวเมือง สมุทรสงคราม แล้วเลี้ยวเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 325 ไปประมาณ 12 กิโลเมตร ทางเข้า ตลาดน้ำอยู่ก่อนถึง สะพานธนะรัชต์ 200 เมตร และแยกซ้ายเข้าไปอีก 1 กิโลเมตร
2. โดยรถสาธารณะ
มีรถโดยสารปรับอากาศสายกรุงเทพฯ-ดำเนินสะดวก ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี เที่ยวแรก ออกตั้งแต่เวลา 05.00 นาฬิกา ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง ลงรถบริเวณตลาดเชิงสะพานธนะรัชต์ จากนั้น สามารถ โดยสารรถสองแถวบริเวณตลาดเชิงสะพานธนะรัชต์ เข้าไปถึงตลาดน้ำดำเนินสะดวกเป็นระยะทางอีก
1 กิโลเมตร สอบถามรายละเอียดได้ที่ สถานีขนส่งสายใต้ (ห้องจำหน่ายตั๋วดำเนินสะดวก) โทร. 0-2435-5031 (ห้องจำหน่ายตั๋วราชบุรี) โทร. 0-2435-5036 นอกจากนั้น นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปกับรถโดยสารสายอื่น ได้ เช่น สายกรุงเทพฯ-ราชบุรี, กรุงเทพฯ-เพชรบุรี (สายเก่า) แล้วลงตรงสี่แยกบางแพ ต่อจากนั้นต่อรถสองแถว ซึ่งวิ่งระหว่างทางแยกบางแพไปดำเนินสะดวก มีรถออก ทุก 10 นาที